วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559

หลักการใช้ Present Continuous Tense (ปัจจุบันกาลต่อเนื่อง) ในภาษาอังกฤษ

 

รูปแบบของ Present Continuous Tense

 
Subject + is/am/are + V.-ing
 
 

หลักการใช้ Present Continuous Tense

 
  1. ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ กำลังดำเนินอยู่ในขณะที่พูด ต่อเนื่องไปเรื่อยๆและจบในอนาคต โดยอาจจะใช้ Adverbs of Time (คำกริยาวิเศษณ์บอกเวลา) บางคำ เช่น now, at the moment, right now, at present, these days เป็นต้น เข้ามาช่วยในประโยคด้วย เช่น
 
 
She is going to the supermarket at the moment.
(หล่อนกำลังไปซุปเปอร์มาร์เกตอยู่ตอนนี้)
 
  1. ใช้เพื่อพูดถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ เช่น
 
 
am meeting my boss this evening.
(ฉันจะพบกับเจ้านายเย็นนี้)
 
  1. ใช้แสดงเหตุการณ์หรือการกระทำที่ ผู้พูดมั่นใจว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอน เช่น
 
He is going to China tonight.
(เขาจะเดินทางไปยังประเทศจีนคืนนี้)
 
  1. กริยาบางตัวไม่สามารถใช้ในรูปของ Present Continuous Tense ได้ ถึงแม้ว่าเหตุการณ์นั้นจะกำลังเกิดขึ้น หรือ ดำเนินอยู่ก็ตาม โดยเรามักใช้ในรูปของ Present Simple Tense กับคำกริยากลุ่มนี้แทน ซึ่ง ได้แก่
 
4.1) กริยาที่แสดงถึงประสาทสัมผัสทั้งห้า เช่น see, hear, feel, taste, smell

smell something bad. (ถูก)
 
* I am smelling something bad. (ผิด)
 
4.2) กริยาที่แสดงความนึกคิด ความรู้สึก เช่น know, understand, think, believe, agree, notice, doubt, suppose, forget, remember, consider, recognize, appreciate, forgive

believe her. (ถูก)
 
* I am believing her. (ผิด)

4.3) กริยาที่แสดงความชอบและความไม่ชอบ เช่น like, dislike, love, hate, prefer, trust, detest

He likes a woman with long hair. (ถูก)
 
* He is liking a woman with long hair. (ผิด)
 
4.4) กริยาที่แสดงความปรารถนา เช่น wish, want, desire, prefer

want to get married. (ถูก)
* I am wanting to get married. (ผิด)
 
4.5) กริยาที่แสดงความเป็นเจ้าของ เช่น possess, have, own, belong

She has no children. (ถูก)
 
* She is having no children. (ผิด)
 

วิธีการสร้างประโยค Present Continuous Tense

 
โครงสร้าง
Subject + is/am/are + V.-ing
ประโยคบอกเล่า
I
am
talking
to her.
You / We / They
are
reading
magazines.
He / She / It
is
sleeping
on the couch.
ครงสร้าง
Subject + is/am/are + not + V.-ing
ประโยคปฏิเสธ
I
am
not
talking
to her.
You / We / They
are
not
reading
magazines.
He / She / It
is
not
sleeping
on the couch.
โครงสร้าง
Is/Am/Are + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม
Am
I
talking
to her?
Are
you / we / they
reading
magazines?
Is
he / she / it
sleeping
on the couch?
โครงสร้าง
Who/What/Where/When/Why/How + is/am/are + Subject + V.-ing?
ประโยคคำถาม 
Wh-
Who
am
I
talking to?
What
are
you / we / they
reading?
Where
is
he / she / it
sleeping?
*คำปฏิเสธรูปย่อของ is / am / are not คือ isn’t, aren’t และ aren’t
ที่มา : http://www.dek-eng.com/

วันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2559


เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา



องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ - คอมพิวเตอร์


 ข้อมูลสารสนเทศ




เครื่องมือการจัดการความรู้ั



ปิรามิดความรู้ของ ยามาซากิ



นวัตกรรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษา




Past Simple Tense

Past Simple Tense คือเหตุการณ์ในอดีตที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดไปแล้วในอดีต
รูปแบบ Subject + V.2* + Object หรือส่วนขยาย

Adverbs of Time ที่บอกเวลาในอดีต ได้แก่
agoผ่านมาแล้ว
yesterdayเมื่อวานนี้
last nightเมื่อคืนนี้
last weekสัปดาห์ที่แล้ว
last monthเดือนที่แล้ว
last yearปีที่แล้ว
a long timeเป็นเวลานานแล้ว
the day before yesterdayเมื่อวานซืนนี้
in 2000ในปี 2000
this morningเมื่อเช้านี้

หมายเหตุ V.2 คือ กริยาเติม “d” หรือ “ed” ในกรณีเป็นกริยาปกติ (Regular Verb) เช่น walk, watch เป็นต้น และเป็นกริยาช่องที่ ในกรณีเป็นกริยาไม่ปกติ (Irregular Verb) เช่น run-ran, take-took เป็นต้น
คำกริยาช่องที่ 2 (Past Form) มี แบบคือ
1. คำกริยาที่เติม –d หรือ –ed เรียกว่า Regular verb (กริยาปกติ)
1.1 โดยปกติคำกริยาทั่วไปจะเติม –ed ท้ายคำกริยาเช่น
walk - walked
jump - jumped
clean - cleaned
talk - talked
1.2 คำกริยาช่องที่ ที่ลงท้ายด้วย ให้เติม –d เช่น
like - liked
live - lived
smile - smiled
1.3 คำกริยาช่องที่ ที่ลงท้ายด้วย ให้เปลี่ยน y เป็น แล้วเติม -ed เช่น
study - studied
cry - cried
1.4 คำกริยาช่องที่ ที่ลงท้ายด้วย และหน้า เป็นสระ (a, e, i, o, u) ให้เติม -ed เช่น
play - played
enjoy - enjoyed
obey - obeyed
1.5 คำกริยาช่องที่ ที่มีสระตัวเดียว ตัวสะกดตัวเดียวและออกเสียงสั้น ให้เพิ่มตัวสะกดตัวท้ายอีกหนึ่งตัวแล้วจึงเติม -ed เช่น
stop - stopped
beg - begged
rub - rubbed
1.6 คำกริยาช่องที่ ที่มีลงท้ายด้วย ให้เพิ่ม อีกหนึ่งตัวแล้วจึงเติม -ed เช่น
control - controlled
travel - travelled
1.7 คำกริยาช่องที่ ที่มี พยางค์และออกเสียงหนัก (stress) ที่พยางค์หลัง ให้เติมตัวสะกดตัวท้ายเพิ่มอีก 1 ตัว ก่อนเติม -ed เช่น
permit - permitted
occur - occurred

2. คำกริยาที่เปลี่ยนรูป เรียกว่า Irregular verb (กริยาอปกติ)
คือ คำกริยาที่เมื่อทำให้เป็นกริยาช่องที่ แล้วจะเปลี่ยนรูปไปจากเดิมหรืออาจจะเปลี่ยนสระภายในคำเดิม เช่น
go - went
eat - ate
get - got
drink - drank

คำกริยาที่ไม่เปลี่ยนรูป
คือรูปจะคงที่และได้รูปเดียวกันทั้งกริยาช่องที่ และกริยาช่องที่ เช่น
cut - cut
put - put
hit - hit
let - let
hurt - hurt
ตัวอย่าง
ประธานกริยาช่องที่ 2กรรมคำบอกเวลาในอดีต
Theyplayedfootballlast Friday.
HestudiedScienceyesterday.
Wemetmelast week.
My fatherboughtthis carthree years ago.

การทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคปฏิเสธใน Past Simple Tense
1. ประโยคบอกเล่าที่มี verb to be สามารถทำให้เป็นประโยคปฏิเสธได้โดยการเติม not หลัง verb to be ทันที 
ประโยคบอกเล่า (Affirmative)
ประโยคปฏิเสธ (Negative)
He/She was at home.He/She was not at home.
We/They were at home.We/They were not at home.

2. ประโยคบอกเล่าที่มี had หรือคำกริยาช่องที่ สามารถทำให้เป็นประโยคปฏิเสธได้โดยใช้ did not (didn’t) วางระหว่างประธานและกริยาแท้ และกริยาแท้ต้องเปลี่ยนจาก had เป็น have หรือกริยาที่ไม่มี to (Infinitive without to) 
ประโยคบอกเล่า (Affirmative)
ประโยคปฏิเสธ (Negative)
She had three dogs.She did not have three dogs.
Mac worked late last night.Mac did not work late last night.
We studied English yesterday.We did not study English yesterday.

การทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถามใน Past Simple Tense
1. ประโยคบอกเล่าที่มี verb to be สามารถทำให้เป็นประโยคคำถามได้โดยการนำ verb to be มาวางไว้หน้าประธาน แล้วใส่เครื่องหมายคำถาม (question mark) ที่ท้ายประโยค
ประโยคบอกเล่า (Affirmative)
ประโยคคำถาม (Question)
She was a nurse.Was she a nurse?
They were in the room.Were they in the room?

2. ประโยคบอกเล่าที่มี had หรือคำกริยาช่องที่ 2 สามารถทำให้เป็นประโยคคำถามได้โดยนำdidวางไว้หน้าประธาน และกริยาแท้ต้องเปลี่ยนจาก had เป็น have หรือกริยาที่ไม่มี to (Infinitive without to) ตามเดิม แล้วใส่เครื่องหมายคำถาม (question mark) ที่ท้ายประโยค
ประโยคบอกเล่า (Affirmative)ประโยคคำถาม (Question)
She had a pen.Did she have a pen?
David and Alex taught English.Did David and Alex teach English?

การตอบคำถามของประโยคคำถามชนิดนี้จะต้องตอบด้วย Yes หรือ No ดังตัวอย่างต่อไปนี้
ประโยคคำถาม
(Question)
ประโยคคำตอบแบบสมบูรณ์
(Full Answer)
ประโยคคำตอบสั้น
(Short Answer)
Was she a nurse?Yes, she was a nurse.Yes, she was.
No, she wasn’t a nurse.No, she wasn’t.
Were they at home?Yes, they were at home.Yes, they were.
No. they weren’t at home.No, they weren’t.
Did you have homework?*Yes, I had homework.Yes, I did.
No, you didn’t have homework.No, I didn’t.

วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การใช้ Is Am Are / Verb

เมื่อไรใช้ is am are และเมื่อไรใช้แค่ verb เพื่อน ๆ หลายคนสับสนว่า ประโยคไหนเราควรใช้  is am are หรือแค่ verb เฉย ๆ  มีหลักการจำง่าย ๆ ค่ะ แต่ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจก่อนว่า ประธานตัวไหน ใช้คู่กับ verb to be ตัวไหนค่ะ
    
ประธาน
Verb to be (Present Tense)
He, She, It
Is
I
am
You, We, They
are

โครงสร้างรูปประโยคที่ใช้คู่กับ is am are มี 3 แบบคือ
1.       ถ้าเราต้องการพูดประโยคที่แปลว่า เป็น, อยู่, คือ รูปประโยค (ประธาน + is, am, are + นาม)
ตัวอย่าง
I am a student. (ฉันเป็นนักเรียน) (I + am + a student)

ประธาน
I
Verb to be
am
นาม
a student
         
We are in the class room. (พวกเราอยู่ในห้องเรียน) (we + are + in the class room.)

ประธาน
We
Verb to be
are
นาม
In the class room

He is my son. (เขาคือลูกชายของฉัน) (He + is + my son)

ประธาน
He
Verb to be
is
นาม
my son
  
2.       ถ้าเราต้องการพูดเกี่ยวกับคำคุณศัพท์ (adj) เช่น เตี้ย สูง อ้วน ผอม ดำ ขาว สวย หล่อ รูปประโยคคือ  (ประธาน + is, am, are + คำคุณศัพท์)
ตัวอย่าง
He is tall. (เขาสูง) (He + is + tall)
ประธาน
He
Verb to be
is
คำคุณศัพท์ (adj)
tall

I am short. (ฉันเตี้ย) (I + am + short)
ประธาน
I
Verb to be
am
คำคุณศัพท์ (adj)
short

They are smart. (พวกเขาฉลาด) (They + are + smart)
              
ประธาน
They
Verb to be
are
คำคุณศัพท์ (adj)
smart

3.       ถ้าเราต้องการพูดว่า กำลัง” เช่นกำลังกิน (eating), กำลังวิ่ง (running), กำลังเดิน (walking) ซึ่งกลุ่มนี้ verb จะเติม ing  รูปประโยคคือ (ประธาน + is, am, are + (verb+ing))
ตัวอย่าง
I am running. (ฉันกำลังวิ่ง) (I + am + running.)

ประธาน
I
Verb to be
am
คำคุณศัพท์ (adj)
running

You are sitting. (คุณกำลังนั่ง) (You + are + sitting.)
              
ประธาน
You
Verb to be
are
คำคุณศัพท์ (adj)
sitting

He is eating. (เขากำลังกิน) (He + is + eating.)

ประธาน
He
Verb to be
is
คำคุณศัพท์ (adj)
eating

ถ้าประโยคที่เราจะใช้ไม่ได้เกี่ยวกับเงื่อนไข 3 ข้อข้างต้น เราจะใช้ verb ต่อท้ายประธานเลยค่ะ เช่น
                I like this book. (ฉันชอบหนังสือเล่มนี้)
                He studies English. (เขาเรียนอังกฤษ)
                She loves the doll. (เธอรักตุ๊กตา)
                They stay at home. (พวกเขาพักที่บ้าน)
ข้อสังเกตในการใช้ verb ให้ถูกต้องคือ เฉพาะประธานเป็นเอกพจน์ ส่วนใหญ่ verb จะเติม s ต่อท้าย แต่ก็มี verb บางตัวต้องเปลี่ยนรูปเหมือนกัน เช่นคำว่า study ต้องเปลี่ยน y เป็น i แล้วเติม es เป็น studies

ที่มา : https://sites.google.com/site/noodashare/kae-rm-ma/is-am-are-laea-verb